ประเพณีลอยกระทงคนไทย

ประเพณีลอยกระทงคนไทย
ประเทศไทยลอยกระทงกันแตกต่างหลากหลาย สุโขทัยเผาเทียนเล่นไฟ เชียงใหม่ประเพณียี่เป็ง แม่ฮ่องสอนกระทงลอยฟ้า ร้อยเอ็ดบูชาสมมาน้ำ จังหวัดตาก ลอยกระทงสาย และอื่นๆ อีกมากมาย
ถ้าจะถามว่าประเพณีลอยกระทงเกิดขึ้นเมื่อไร เข้าใจว่าจะไม่มีใครตอบได้ชัดเจน เพราะไม่พบหลักฐานว่ามีที่มาอย่างไร และมีทำกันหลายประเทศ เช่น อินเดีย จีน ลาว เขมร และไทย ความเชื่อถือก็มีต่างๆ กัน รูปแบบการลอยกระทงก็ไม่เหมือนกัน กล่าวเฉพาะในเมืองไทย ก็มีกล่าวกันต่าง ๆ แต่เดิมมีตำนานที่ชอบอ้างกันอยู่เรื่องหนึ่ง ซึ่งบางคนอาจนึกไม่ได้หรือลืมไปแล้ว จึงขอนำมาเล่าย่อ ๆ พอเตือนความจำดังต่อไปนี้
ในสมัยดึกดำบรรพ์นานมาแล้ว มีกาเผือกผัวเมียทำรังอยู่บนต้นไม้ใกล้ฝั่งแม่น้ำในป่าหิมพานต์ วันหนึ่งกาตัวผู้ออกหากินแล้วหลงทางหายสูญไป แม่กากำลังกกไข่ที่มีอยู่ ๕ ฟอง ไม่อาจจะออกตามหาได้ แล้วอยู่มาวันหนึ่ง เกิดพายุใหญ่พัดพาไข่ทั้ง ๕ ฟองในรังตกลงไปในแม่น้ำ ตัวแม่กาเองที่ถูกลมพายุพัดปลิวไปด้วย พอลมสงบแม่กาก็บินกลับมาที่รัง เมื่อไม่พบไข่ก็ร้องไห้ด้วยความเสียใจ แม่กาออกบินตามหาไปยังที่ต่างๆ ก็ไม่พบ ด้วยความเหนื่อยอ่อนและความเสียใจไม่อาจระงับได้ แม่กาก็ขาดใจตาย และด้วยบุญกุศลที่สร้างสมมา ก็ได้ไปเกิดในพรหมโลก มีชื่อว่า ท้าวผกาพรหม สล็อตเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์
ประเพณีลอยกระทงคนไทย
ส่วนใข่ทั้ง ๕ ฟอง เมื่อตกลงไปในน้ำก็ไม่จม กลับลอยไปพะตลิ่งตามกระแสน้ำที่พาไป ไม่รวมอยู่ในที่เดียวกัน และโชคดีที่มีแม่ไก่ แม่นาค แม่โค แม่ราชสีห์ และแม่เต่า มาพบเข้า เก็บเอาไปกกตัวละฟอง เมื่อครบกำหนดไข่ก็แตกออกแต่ไม่เป็นกาตามพ่อแม่ แต่กลับเป็นมนุษย์ (ตามวาสนาบารมีที่ทำมา) สล็อตแตกหนัก
ครั้นมนุษย์ทั้ง ๕ เติบใหญ่ขึ้น มีความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาสเหมือนๆ กัน จึงลามารดาเลี้ยงไปบวชเป็นฤาษี วันหนึ่งฤาษีทั้ง ๕ นี้ไปพบกันพร้อมหน้า จึงไต่ถามถึงนามวงศ์กันขึ้น ตนที่แม่ไก่เก็บไปเลี้ยงก็บอกว่า ตนชื่อ กุกกุฏสันโธ คือวงศ์ไก่ ที่นาคเก็บมาก็ว่าชื่อ โรนาคมโน คือวงศ์นาค ชื่อ กัสสโป คือวงศ์เต่า ชื่อ โคตโม คือวงศ์โค ชื่อ เมเดโย คือวงศ์ราชสีห์ มารดาตัวไม่มี ได้แม่ไก่ แม่นาค แม่โค แม่ราชสีห์ และแม่เต่าเลี้ยงมา เมื่อฤาษีทั้ง ๕ ได้ทราบเหตุเช่นนั้น จึงปรึกษากันว่า เราก็หัวอกเดียวกัน ควรจะตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตแล้ว ขอให้ร้อนไปถึงมารดาผู้ให้กำเนิดด้วย ปรากฎว่าคำอธิษฐานร้อนไปถึงท้าวผกาพรหมได้เสด็จลงมาจากพรหมโลกในร่างของกาเผือก บินมาเกาะอยู่บนต้นไม้ตรงหน้าฤาษีทั้ง ๕ แล้วเล่าเรื่องเดิมให้ฟัง และสั่งว่าถ้าคิดถึงมารดา เมื่อถึงวันเพ็ญ เดือน ๑๑ เดือน ๑๒ ให้เอาด้ายดิบผูกไม้เป็นตีนกา ปักธูปเทียนบูชาลอยกระทงในแม่น้ำเถิด ทำอย่างนี้เรียกว่าคิดถึงมารดา ในตำนานกล่าวว่า เว็ปตรงแตกหนัก
“ตั้งแต่นั้นมาชาวเราก็พากันลอยกระทง เพื่อจะบูชาท้าวมหาผกาพรหมด้วย และเพื่อจะบูชาฝ่าพระบาทพระ ซึ่งในตำนานว่าอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำยมนา สืบเนื่องกันมาจนถึงทุกวันนี้“
ประเพณีลอยกระทงคนไทย
อีกตำนานหนึ่งว่า เกิดขึ้นครั้งสุโขทัย นางนพมาศเป็นคนต้นคิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัว ถวายพระเจ้าแผ่นดินให้ทรงลอยไปตามสายน้ำไหล เชื่อกันว่าเป็นการอุทิศบูชารอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที เรื่องนี้มีทั้งที่เชื่อและไม่เชื่อ ที่เชื่อก็เพราะเหตุการณ์มีเค้าอยู่อย่างหนึ่ง คือไทยเริ่มมีการบูชารอยพระบาทในสมัยพระเจ้าลิไท แต่เรื่องรอยพระพุทธบาทไปประดิษฐานไม่ประดิษฐานอยู่ที่แม่น้ำนัมมทานทีได้อย่างไร อาจไม่มีคนสนใจ เพียงแต่ฟังและเชื่อสืบต่อกันมาเท่านั้น ได้พยายามหาตำนานที่มาของแม่น้ำสายนี้ก็ยังไม่พบ ในรามายณะก็ไม่มีกล่าวถึง ทราบแต่ว่าแม่น้ำสายนี้ไหลไปออกทะเลอาระเบียนทางมณฑลมัทราส มีตำนานเล่าว่า หลังจากพระพุทธเจ้าเทศนาโปรดฤาษีสัจจพันธ์ที่สุวรรณบรรพต จังหวัดสระบุรีแล้ว ได้เสด็จกลับกรุงสาวัตถี ระหว่างทางทรงแวะเยี่ยมพญานาคที่ฝั่งแม่น้ำนัมมทา พญานาคได้ทูลขอประทานรอยพระบาทไว้เป็นที่สักการะบูชา จึงได้มีรอยพระพุทธบาทปรากฎอยู่ สล็อตเว็บตรง
ประเพณีลอยกระทงคนไทย
ตำนานที่กล่าวมาใครจะแต่งขึ้นก็ไม่ทราบ เรื่องไม่ตรงกัน ข้อความบางแห่งก็ขัดแย้งกัน นักค้นคว้าบางคนจึงไม่เชื่อว่าการลอยกระทงมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย อ้างว่าไม่มีแม่น้ำให้ลอย แต่ในปัจจุบันก็เชื่อกันว่า มีการลอยกระทงอ้างว่าในศิลาจารึกสุโขทัยมีอ้างถึง “การเผาเทียนเล่นไฟ” ทำให้ผู้เขียนต้องอ่านศิลาจารึกใหม่ ก็ไม่พบว่ามีการลอยกระทง ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ ๑ กล่าวไว้แต่เพียงว่า เมื่อออกพรรษามีกรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้ว ต่อจากนั้นก็พรรณนาว่า “เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกันเข้าดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้ทีดังจักแตก” ไม่ได้กล่าวถึงเหตุที่เผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นเทศกาลอะไร ทำไมต้องทำที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ทิศ สล็อตเว็บตรง
จริงอยู่เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากกรานกฐินเดือนหนึ่ง ก็น่าจะตกเดือน ๑๒ แต่ทำไมต้องไปทำที่ประตูเมืองทั้ง ๔ หรือเปิดประตูเมืองให้คนเข้าไปดูท่านเผาเทียนเล่นไฟ ดูจะเป็นงานหลวงที่จัดขึ้นเป็นพิเศษ ไม่ใช่งานลอยกระทง ถ้าอย่างนั้นเป็นงานอะไร สล็อตเว็บตรง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอธิบายว่า “คนโบราณนับเอาข้างแรมเป็นต้นเดือน เขานับเดือนอ้ายตั้งแต่แรมค่ำ” ดังนี้ก็หมายความว่า วันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นวันสิ้นปี น่าจะเป็นวันชื่นชมยินดีที่ชีวิตผ่านพ้นมาได้อีกปีหนึ่ง
ผู้คนจึงเบียดเสียดเข้าประตูเมืองมาดูท่านเผาเทียนเล่นไฟ อย่างในปัจจุบันที่เรียกกันว่า “ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่” เพราะวันรุ่งขึ้นก็จะเป็นวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย อย่างไรก็ตามข้อสันนิษฐานนี้อาจผิดหรือถูกก็ได้ เพราะในศิลาจารึกก็ไม่กล่าวให้ชัดเจนว่า ทำเพื่อประสงค์อะไร กล่าวไว้ลอยๆ เหมือนจะเป็นที่รู้กันดีในสมัยนั้น
ประเพณีลอยกระทงคนไทย
เรื่องการลอยกระทงมาปรากฎหลักฐานชัดเจนขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีกล่าวไว้ในกฎมณเฑียรบาล พระราชพิธีเดือน ๑๒ แต่เรียกว่าพิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม พิธีนี้ค่อนข้างคลุมเครือไม่กล่าวถึงรายละเอียดว่าทำเพื่ออะไร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสันนิษฐานว่า “จะเข้าใจว่าเอาโคมที่เป็นโครงไม้ไผ่หุ้มผ้าที่ชักอยู่บนเสามาตั้งแต่ต้นเดือน ลดลง แล้วไปทิ้งลงในน้ำ ก็ดูเคอะไม่ได้การเลย ฤาอีกอย่างหนึ่งจะเป็นวิธีว่าเมื่อลดโคมแล้ว ลอยกระทง สมมุติว่าเอาโคมนั้นลอยไปตามลัทธิพราหมณ์ ที่พอใจลอยอะไรๆ จัดอยู่เช่นกับลอยบาปล้างบาป จะถือว่าเป็นลอยเคราะห์ลอยโศกอย่างใดไปได้ดอกกระมัง การก็ตรงกันกับลอยกระทง ลางทีจะสมมุติว่าลอยโคม”
เรื่องการลอยโคมนี้ มีปรากฏในหนังสือนางนพมาศว่า วันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นนักขัตฤกษ์ชักโคมลอยโคม บรรดาชนต่างตกแต่งโคม ชักโคม แขวนโคมลอย เล่นมหรสพกันสิ้นสามราตรี ในการนี้นางนพมาศทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว พิจารณาดูการพรรณนาผิดไปจากสำนวนศิลาจารึก จึงขอผ่านไปก่อน แต่มีหนังสือเก่าอีกเรื่องหนึ่งเป็นจดหมายเหตุระยะทางราชทูตลังกา เข้ามาขอคณะสงฆ์ที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๔ ในแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ ได้กล่าวไว้ว่า
“ตามบรรดาวัดริมฝั่งแม่น้ำทั้ง ๒ ฟากทุกวัด ต่างปักไม้ไผ่ลำยาวเป็นเสา โน้มปลายไม้ลงมาผูกเชือกชักโคมต่างๆ (ครั้นได้เวลา) พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาเสด็จโดยกระบวนเรือ พร้อมด้วยกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอและเจ้าพระยามหาอุปราช เรือที่เสด็จล้วนปิดทองมีกันยาคาดสีและผูกม่าน ในเรือปักเชิงทองและเงิน มีเทียนจุดตลอดลำ มีเรือข้าราชการล้วนแต่งประทีปแห่นำตามเสด็จด้วยเป็นอันมาก และในการพิธีนี้ยังมีโคมกระดาษทำเป็นรูปดอกบัวสีแดงบ้าง สีขาวบ้าง มีเทียนจุดอยู่ในนั้น ปล่อยลอยน้ำลงมาเป็นอันมาก”
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงบันทึกไว้ในหนังสือที่อ้างถึงข้างต้นนั้นว่า “คำที่ว่าลอยโคมที่เรียกในกฏมณเฑียรบาล บางทีจะหมายถึงโคมบัวที่ลอยน้ำนี้เอง ในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใช้ดอกบัวสดปักเทียนบ้าง เย็บใบตอง ใบพลับพลึงเป็นกระทงเจิม ปักธูปเทียนและดอกไม้บ้าง ทำเป็นเรือหยวก ปักธูปเทียนดอกไม้บ้าง จึงเรียกกันว่า ลอยกระทง ไม่ได้เรียกว่าลอยโคม ตามกฏหมาย เก่าจนเป็นที่ฉงนสนเท่ห์ของผู้ศึกษาโบราณคดี ว่าที่เรียกว่าลอยโคมในกฏมณเฑียรบาลนั้น จะหมายความว่าเอาโคมซึ่งชักในพิธีจองเปรียงเสร็จแล้วลงลอยน้ำหรืออย่างไร พึ่งมาเห็นในจดหมายเหตุของราชทูตลังกาว่าครั้งกรุงเก่าลอยโคมจริงๆ”
กล่าวโดยสรุป ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการลอยโคมคือโคมทำด้วยกระดาษทำเป็นรูปดอกบัว มีเทียนจุดอยู่ข้างใน ภายหลังในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ใช้ดอกบัวสดปักเทียนบ้าง เอาใบพลับพลึงมาทำเป็นกระทงเจิมบ้าง จึงได้เรียกกันว่า ลอยกระทง เป็นชื่อที่กำหนดขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตามลักษณะที่ทำเป็นกระทงไม่ใช่เป็นโคมตามแบบโบราณ
การลอยกระทงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเรื่องใหญ่โตมาก กล่าวเฉพาะกระทงหลวง ตามพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๕ ทรงเล่าว่า แต่เดิมมีเรือรูปสัตว์ต่างๆ เรือศรี เรือชัย เรือโอ่ เรือคอน และมีเรือหยวกติดเทียน ๒ เล่ม ธูปดอก ๑ มีถึงห้าร้อยลำ ต่อมารัชกาลที่ ๔ โปรดให้ลดเรือหยวกให้เหลือเพียงสี่สิบห้าสิบลำ และที่ทำใหญ่โตพิสดารก็คือในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งเป็นสมัยที่การค้าขายเจริญ กล่าวเฉพาะปีระกากับปีจอ (จ.ศ. ๑๑๘๗ และ ๑๑๘๘) เดือนพฤศจิกายน โปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการทำกระทงใหญ่ถวาย เจ้าพระยาทิพากรวงศ์จดหมายเหตุไว้ว่า
“ครั้นมาถึงเดือนสิบสอง ขึ้นสิบสี่ค่ำ สิบห้าค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรงพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าฝ่ายใน และข้าราชการมีกำลังพาหนะมากทำกระทงใหญ่ ผู้ต้องเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง เป็นแพหยวกบ้าง กว้างแปดศอกบ้าง เก้าศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอดสิบศอก สิบเอ็ดศอก ทำประกวดประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง ๔ บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆ บ้าง วิจิตรไปด้วยเครื่องสด คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทง ทั้งค่าเลี้ยงคน เลี้ยงพระ ช่างเบ็ดเสร็จก็ถึงยี่สิบชั่งบ้าง ย่อมกว่ายี่สิบชั่งบ้าง”
กระทงในครั้งนั้นทำต่างกันทั้ง ๓ วัน คือกระทงในวัน ๑๔ ค่ำ เครื่องเขียว กระทงในวัน ๑๕ ค่ำ เครื่องขาว และกระทงในวันแรม ๑ ค่ำ เครื่องแดง ดอกไม้สดก็หาที่มีสีตามกระทง ที่สำคัญคือมีจักรกลต่างกันทุกกระทง (ในสมัยรัชการที่ ๓ เครื่องจักรกลเป็นที่นิยมกันมากแล้ว) บางกระทงมีขนาดใหญ่ถึงกับมีมโหรีขับร้องอยู่ในกระทงนั้นก็มีบ้าง จึงมีคนอยากเห็นอยากดู นั่งเรือมาดูกระทงกันตั้งแต่บ่าย ๔ โมง เรือเบียดเสียดกันแน่นแทบจะหลีกกันไม่ได้ ทั้งเรือราชการและเรือราษฎรเต็มไปทั้งแม่น้ำ รูปกระทงเหล่านี้ว่ามีเขียนไว้ที่วัดยานนาวา ที่รัชกาลที่ ๓ ทรงสถาปนาขึ้นไว้
ได้กล่าวมาในตอนต้นแล้วว่า รูปแบบของกระทงและความเชื่อก็มีต่างๆ กัน จึงขอนำเรื่องการลอยกระทงบางถิ่นบางที่มาเล่ารวมไว้ด้วย เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ เช่นทางภาคพายัพของไทยว่ามีพิธีถึง ๓ วัน เริ่มวันที่ ๑๓ ค่ำ ถือเป็นวันจ่าย คือซื้อของเตรียมไว้ทำบุญ รุ่งขึ้นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เป็นวันทำบุญที่วัด ถ้าเป็นวัดใหญ่อยู่ในระแวกหมู่บ้าน ก็มักจะทำเป็นกระทงใหญ่เป็นรูปเรือตั้งไว้กลางลานวัด ในกระทงบรรจุพวกข้าวสาร น้ำตาล ไม้ขีดไฟ เทียนไข และของกินของใช้ต่างๆ พอถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ (เรียกว่าเพ็ญเดือนยี่ ตรงกับกลางเดือน ๑๒ ของไทยภาคกลาง เพราะทางพายัพนับเดือนเร็วไป ๒ เดือน) เมื่อกลับจากทำบุญที่วัด ก็นำของกินไปแจกเพื่อนบ้าน ซึ่งส่วนมากจะเป็นขนมเทียนพวกเด็กผู้หญิงนำช่อดอกไม้ไปมอบให้ผู้เฒ่าผู้แก่ที่นอนจำศีลอยู่ที่วัดตั้งแต่วันขึ้น ๑๔ ค่ำ ในคืน ๑๕ ค่ำ เขาจะนำผางประทีปทำด้วยดินเผา มีรูปและขนาดเท่าถ้วยตะไลเล็กๆ ปากผายเล็กน้อย ในผางประทีปหยอดขี้ผึ้งปนน้ำมันมะพร้าวมีไส้จุด เอาไปตั้งไว้หน้าพระประธานในโบสถ์บ้าง จุดธูปไว้ตามหิ้ง ตามซอกประตูหน้าต่างภายในเรือนบ้าง ชาวบ้านถือว่า การจุดประทีปเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าไม่จุดยักษ์มันจะมาเอาตัวไป
ตามเอกสารที่คนแต่ก่อนบันทึกไว้กล่าวว่า การลอยกระทงในแม่น้ำปิงสมัยโบราณ เจ้าผู้ครองนครพร้อมด้วยบริวาร นำกระทงลอยประทีปเป็นปฐมฤกษ์ก่อน แล้วราษฎรจึงนำกระทงใหญ่ของวัดในละแวกบ้านของตนที่กล่าวมาข้างต้นไปลอย พร้อมทั้งมีกระทงเล็กๆ ทำด้วยกาบมะพร้าวเป็นรูปต่างๆ ใส่กล้วยอ้อยลงไปด้วย ถือเป็นกระทงส่วนตัว
ในเรื่องการลอยกระทงของไทยในภาคต่างๆ ก็ไม่เหมือนกับทางภาคอีสานโบราณกล่าวไว้ว่า กระทงที่ลอยใช้ต้นกล้วยเป็นต้นๆ ไม่ใคร่จะประดับตกแต่งอะไรมากนัก ของที่ใส่ในกระทงก็เพียงเล็กน้อย ใช้ไต้ปักพอให้มีแสงสว่าง ได้ทราบมาว่าจุดประสงค์ส่วนใหญ่ของชาวอีสานแต่โบราณมา ลอยกระทงเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ (เมื่อครั้งเสด็จขึ้นไปเทศนาโปรดพระมารดา) การจุดไต้ให้สว่างโพลงนั้นเท่ากับเป็นการสมโภชแสดงความยินดีที่พระพุทธองค์เสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ นอกจากนี้ตามหน้าบ้านเขาก็ทำราวด้วยต้นกล้วยปักไต้ให้สว่างไปหมด หนุ่มๆ สาวๆ พากันเดินดูกระทงและไฟที่จุดบูชา ร้องรำทำเพลงเป็นที่สนุกสนานเบิกบานใจ
อนึ่งที่กล่าวว่าชาวอีสานโบราณ เชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าเมื่อกลับจากเทวโลกนั้น ถ้าพิจารณาจากพุทธประวัติก็ไม่ตรงทีเดียวนัก เพราะพระพุทธเจ้าเสด็จในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ คลาดเคลื่อนกันอยู่ ส่วนทางประเทศลาวเริ่มลอยกระทงในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ตามเอกสารของลาวว่าการลอยกระทงมี ๒ วัน วันแรกเรียกว่าวันเป็ง คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่า “ไหลเฮือไฟ” คือทำกระทงเป็นรูปเรือขนาดใหญ่ บรรทุกสบง จีวร เครื่องทำบุญต่างๆ ลงไปได้ การลอยกระทงในวันนี้ถือเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า ส่วนการลอยกระทงในวันแรม ๑ ค่ำ เขาเรียกว่า “ไหลเต้าน้ำ” เป็นกระทงขนาดเล็ก ของในกระทงก็มีเพียงหมากพลู บุหรี่ ขนมนิดหน่อย การลอยกระทงในวันนี้เขาถือว่าเป็นการลอยบังสุกุล อุทิศแด่บรรพบุรุษ ความเชื่อของลาวโบราณดูน่าเลื่อมใส
ตามเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นไม่พบเรื่องต้นเหตุของการลอยกระทง แม้แต่ความเชื่อก็ต่างกัน เช่น ชาวพายัพถือว่าการลอยกระทงเป็นการลอยเพื่อบูชาพระอุปคุต ซึ่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ในท้องทะเล แต่บางท่านก็ว่าเป็นการลอยทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ ส่วนทางภาคกลางถือว่าเป็นการขอขมาลาโทษแม่คงคา ที่ทำให้น้ำสกปรก และขอบพระคุณที่ได้หล่อเลี้ยงชีวิต ใช้อาบใช้กิน ทำไร่ ทำนา เลี้ยงชีวิต ความเชื่อต่างๆ นี้ก็เป็นไปตามพื้นบ้านพื้นเมือง ทางพายัพบางทีจะได้อิทธิพลมาจากพม่าที่นับถือพระอุปคุต ภาคกลางอุดมไปด้วยแม่น้ำลำคลองทำเกษตรกรรม ที่ต้องอาศัยน้ำ ก็ระลึกถึงคุณที่ช่วยในการเพาะปลูก กล่าวโดยสรุปความเชื่อเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เช่นเคยสอนให้มีคำบูชาเมื่อลอยกระทงว่า “ข้าแต่พระพุทธเป็นเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอบูชาซึ่งรอยพระบาท ซึ่งตั้งอยู่เหนือกองทรายในแม่น้ำชื่อว่านัมมทานทีโน้น ด้วยประทีปนี้ อันว่าการบูชารอยพระบาทด้วยประทีปนี้ ขอจงเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุข แด่ข้าพเจ้าสิ้นกาลนานเทอญ” คำบูชาดังกล่าวแสดงว่าเชื่อเรื่องการลอยกระทง เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ที่แม่น้ำนัมมทานที ตามความเชื่อของผู้แต่งคำบูชานั้น
ในปัจจุบันคนลอยกระทงก็อธิษฐานต่างๆ กันไป บ้างขอให้พ้นทุกข์ พ้นโศก มีความสุข บ้างก็ขอให้คู่ที่ดี บ้างขอให้ร่ำรวย สรุปว่าอธิษฐานตามแต่ใจปราถนา ไม่ได้บูชาตามความเชื่อที่กล่าวมาข้างต้น กระทงก็ทำด้วยภาชนะที่ทำให้แม่น้ำลำคลองสกปรกมากยิ่งขึ้น คนทำน้ำให้สกปรกทุกวัน แล้วขอขมาปีละครั้งไม่คุ้มกันเลย
ตามที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่า ความเชื่อมีต่างๆ กัน ถ้าจะถามความเห็นของผู้เขียนว่าควรจะเชื่อเรื่องไหน ผู้เขียนก็จะตอบได้ตามความคิดเห็นว่า ในสมัยสุโขทัยผู้คนกำลังเลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนาอย่างเต็มกำลัง การ “เผาเทียนเล่นไฟ” ก็ควรจะเนื่องในพุทธศาสนา วันออกพรรษาเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลก ตามพุทธประวัติว่า เสด็จลงมาใกล้ประตูเมืองสังกัส ประชาชนไปรอรับเสด็จกันมากมาย ชาวสุโขทัยก็คงมีความปีติยินดีเช่นเดียวกัน จึง “เผาเทียนเล่นไฟ” เป็นการบูชารับเสด็จ แต่ในครั้งนั้นยังทำบนบก ยังไม่มีการลอยกระทง ครั้นต่อมาภายหลังเมื่อประเพณีแพร่หลายมาสู่พื้นที่ที่มีแม่น้ำลำคลอง จึงได้ย้ายการจุดประทีปลงในน้ำในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ดังกล่าวมาข้างต้น ที่น่าสังเกตคือทางประเทศลาวซึ่งเป็นพี่น้องกับไทยก็เชื่อว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าในวันเสด็จลงมาจากเทวโลก
กล่าวโดยสรุปการลอยกระทงน่าจะมีที่มาทางพระพุทธศาสนาก่อน แล้วมีเกจิอาจารย์แต่งเรื่องเสริมขึ้นภายหลัง ความเชื่อจึงมีต่างๆ กันไป และถ้าเราจะเปลี่ยนความเชื่อให้เป็นเรื่องทางพุทธศาสนา มีการทำบุญใส่บาตรเช่นเดียวกับวันตักบาตรเทโว (หรือจะทำต่อเนื่องกันไปก็เป็นการดีกว่า ที่จะลอยกระทงเพื่อความสนุกสนานแต่อย่างเดียว)


